หลายคนคงสงสัยว่า การที่เราทำการซื้อบ้านนั่นหมายความว่า เราเป็นใคร ระหว่าง เจ้าบ้าน หรือ เจ้าของบ้าน เจ้าของอสังหาฯ บ้าน คอนโดมิเนียม สิ่งหนึ่งที่ได้ครอบครอง นั่นก็คือ บ้าน คอนโดมิเนียม นั่นก็คือ เอกสารสิทธิ์ เช่น ทะเบียนบ้าน ฉโนดที่ดิน ซึ่งผู้ซื้อจะได้รับหลังจากที่ได้รับการโอนมอบ
ความแตกต่างระหว่าง เจ้าบ้าน และ เจ้าของบ้าน
“เจ้าของบ้าน” (Owner) หมายถึง บุคคลผู้มีอำนาจในการครอบครอง เป็นผู้ที่เอกสารสิทธิ์ในการซื้อขายและโฉนดที่ดิน มีสิทธิ์ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในการซื้อขาย โอน บ้านหรือที่ดินนั้นๆ และยังสามารถมอบโอนมรดกให้ลูกหลานเป็นเจ้าของบ้านได้
ทะเบียนบ้าน 5 ประเภท
- ทะเบียนบ้านชั่วคราว
- ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) เล่มสีเหลือง สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย เข้ามาอยู่อาศัยชั่วคราว
- ทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14) เล่มสีน้ำเงิน สำหรับระบุรายชื่อผู้อยู่อาศัยที่เป็นคนไทยหรือผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย แต่มีเอกสารประจำตัวคนต่างด้าว เป็นเล่มที่เราเห็นทั่วไป
- ทะเบียนบ้นชั่วคราวของสำนักทะเบียน สำหรับลงรายชื่อบุคคลที่แจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) สำหรับเดินทางไปต่างประเทศ หรือ อยู่ระหว่างการขอเลขที่บ้านใน 15 วัน (หลังจากที่บ้านสร้างเสร็จ)
- ทะเบียนบ้านกลาง สำหรับลงรายชื่อบุคคลที่ไม่มีชื่ออยู่ทะเบียนบ้านใด ๆ
ในทางกฎหมายเราจะสามารถมีรายชื่อในทะเบียนบ้านได้เพียง 1 ฉบับ ดังนั้น เจ้าของบ้าน สามารถมอบหมายให้ญาติ หรือ ผู้ดูแล เป็นเจ้าบ้านได้ กรณีที่ เจ้าของบ้าน ไม่แต่งตั้ง เจ้าบ้าน และต้องการขายจะต้องเสียภาษีธุรกิจ (ขายบ้าน คอนโด โดยได้รับการยกเว้น จะต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านในน้อยกว่า 1 ปี)
“เจ้าบ้าน” (Host) หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้ครอบครองบ้าน ในฐานะ “ตัวแทนเจ้าของ” โดยอาจไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยนั้น เช่น ผู้เช่า ผู้ดูแล กรณีที่บ้านหลังนั้นไม่มีชื่อเจ้าบ้าน อาจเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมาย แต่งตั้งให้เป็นเจ้าบ้านแทนเจ้าของบ้าน
มีหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร (พ.ศ.2534) ในการดำเนินการดูแลดังนี้
- แจ้งคนเกิด-ตาย ในบ้าน
- แจ้งย้ายเข้า-ออก
- สร้างบ้านหรือรื้อถอน
- ดำเนินการขอเลขที่บ้าน
เจ้าบ้าน (Host) ไม่มีสิทธิ์ นำอสังหา บ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียมนั้นๆ ไปขายต่อ หรือมอบให้ผู้อื่น
เอกสารที่ต้องเตรียมเมื่อต้องการเปลี่ยน “เจ้าบ้าน”
นำเอกสารเหล่านี้ไปยื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่ที่ตั้งของบ้าน หรือคอนโดมิเนียม และแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ว่าต้องการเปลี่ยนเจ้าบ้าน
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- หนังสือยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์
- หลักฐานกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย
- คำร้องขอเปลี่ยนเจ้าบ้าน
หลังจากที่เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเอกสารอย่างครบถ้วน ก็จะได้รับทะเบียนบ้านใหม่ที่แสดงชื่อเจ้าบ้าน เป็นบุคคลนั้นๆ
หากสังเกตพบว่า “เจ้าบ้าน” มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ผิดสัญญาเช่า หรือมีแนวโน้มที่จะดำเนินการให้ เจ้าของบ้าน ต้องเสียสิทธิ์ในการครอบครองบ้าน ควรรีบดำเนินการเปลี่ยนเจ้าบ้าน และดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบตามมา การกำหนดให้ใครเป็น “เจ้าบ้าน” ควรพิจารณาอย่างถ้วนถี่ หลีกเลี่ยงการแจ้งเปลี่ยนจากบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่บุตร หลานหรือญาติ