ติดบูโรซื้อบ้านได้ไหม เกณฑ์พิจารณาสินเชื่อบ้าน

พฤษภาคม 27, 2024

-

adisorn kaewchansilp

/
/
ติดบูโรซื้อบ้านได้ไหม เกณฑ์พิจารณาสินเชื่อบ้าน
ติดบูโร ซื้อบ้านได้ไหม

เครดิตบูโร หรือประวัตการชำระหนี้ของผู้กู้สินเชื่อ โดยจะถูกรวบรวมเก็บข้อมูลในฐานระบบข้อมูลเครดิตต่างๆ ของบริษัททข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau Co.,Ltd : NCB) เพื่อให้สถาบันการเงิน ข้อมูลจะประกอบไปด้วย

  • ข้อมูลส่วนบุคคล
  • ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติและประวัติการผ่อนชำระ

ข้อมูลเครดิตบูโรนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เนื่องด้วยสถาบันการเงินจะเห็นพฤติกรรมวินัยในการผ่อนชำระ หากใครมีประวัติที่ดีไม่มีประวัติเสียก็มีโอกาสที่จะได้รับการอนุมัติสูง แต่กรณีที่เคยมีประวัตเสีย หรือที่เรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า “ติดบูโร” ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถกู้สินเชื่อได้ แต่อาจต้องแสดงหลักฐาน เอกสารอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อแสดงว่าปัจจุบันมีความสามารถในการผ่อนชำระนั่นเอง ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะเรียกขอตรวจสอบประวัติเครดิต หรือ เครดิตบูโร ในการพิจารณาเบื้องต้น

หลายคนที่ไม่สามารถยื่นกู้สินเชื่อได้ ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เนื่องจากมีประวัติติดบูโรนั้น ทางแก้ไขควรชำระให้ครบและขอเอกสารการชำระปิดยอดหนี้เพื่อนำมาแสดงกับสถาบันการเงินในการยื่นกู้สินเชื่ออื่น เช่น สินเชื่อบ้าน

  • กรณีที่เคยมีประวัติค้างชำระข้อมูลจะถูกเก็บไว้ไม่เกิน 5 ปี และ
  • กรณีที่ประวัติดี ไม่มีประวัติค้างชำระข้อมูลจะรวบรวมไว้ 3 ปี

อย่างไรก็ตามการที่สถาบันการเงินจะเข้าถึงประวัตเครดิตได้ ก็จะต้องได้รับการยินยอมจากบุคคลนั้นๆ เสียก่อน หมายความว่าในทุกครั้งที่คุณยื่นขอสินเชื่อใดๆ ก็ตาม จะต้องมีการเซ็นยินยอมการตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรนั่นเอง และนอกจากนี้ สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเท่านั้นจึงจะข้อดูได้ หมายความว่า กรณีที่คุณไปทำธุรกรรมการเงินใดๆ กับบุคคลอื่น ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกก็จะไม่สามารถเข้าถึงหรือข้อดูข้อมูลประวัตินี้ได้ เช่น กู้เงินนอกระบบ

“ค้างชำระหรือติดบูโร เป็นข้อมูลแสดงว่า
มีการผิดนัดชำระหนี้ ไม่ได้ระบุว่าลูกหนี้ติด Blacklist”

ติดบูโรซื้อบ้านได้ไหม

1. กรณีที่คุณมีประวัติผิดชำระหนี้ หรือ ติดบูโร

สามารถยื่นขอสินเชื่อบ้านได้ โดยเบื้องต้นจำเป็นต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า ประวัติที่แสดงนั้นเป็นอย่างไรโดยสามารถยื่นขอตรวจสอบตัวเองได้ทุกสถาบันการเงิน และผ่านแอปพลิเคชั่นของหน่วยงาน

  • สถานะ 10 หมายความว่า สถานะปกติ ไม่มีภาระหนี้สิน 
  • สถานะ 11 หมายความว่า ชำระหนี้หรือปิดบัญชีแล้ว
  • สถานะ 12 หมายความว่า มีการพักชำระหนี้
  • สถานะ 20 หมายความว่า มีการค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน

2. เมื่อทราบแล้วว่าคุณมีสถานะเครดิต

เมื่อทราบสถานะเครดิตบูโรของตัวเองเป็นอย่างไร กรณีที่มียอดหนี้คงค้าง ควรชำระให้เร็วที่สุดเพื่อให้สถานะกลับมาปกติ หากยังไม่สามารถปิดยอดหนี้ได้ อาจติดต่อสถาบันที่มียอดหนี้เพื่อขอพักชำระหนี้

3. วางแผนการเงินทั้งของตัวเอง

วางแผนการเงินทั้งของตัวเอง และกรณีที่ต้องการกู้ร่วม ก็ควรวางแผนการเงินของผู้กู้ร่วมด้วยเช่นกัน

ติดบูโรซื้อบ้านได้ แต่ควรแก้ไขประวัติตรวจเช็กให้เรียบร้อย
เพื่อโอกาสพิจารณาอนุมัติ

เช็คลิสต์ความพร้อมก่อนขอสินเชื่อบ้าน

  • ตรวจสอบความสามารถในการผ่อนชำระ คำนวนค่างวดต่อเดือน ดอกเบี้ยแต่ละเดือนและตลอดระยะเวลาการผ่อนชำระ
  • ภาระหนี้สิน เครดิตบูโร
  • หากมีการผ่อนชำระบัตรเครดิต หรือ รถยนต์ใกล้หมดภาระแล้ว ควรปิดยอดก่อนเพื่อไม่ให้ถูกนำมาคำนวนลดรายจ่ายลง
  • รายการเดินบัญชี แจกแจงรายได้ แหล่งที่มาโดยสามารถแสดงเอกสารได้
  • เอกสารรายได้ การยื่นภาษี ต่างๆ
  • เงินเก็บสักก้อน สำหรับการดาวน์บ้านและตกแต่งอื่นๆ

เกณฑ์พิจารณาสินเชื่อบ้าน คุณสมบัติของผู้กู้

1. ช่วงวัย อายุของผู้กู้

โดยมากควรมีอายุระห่าง 20-70 ปี ระยะเวลาในการผ่อนชำระจะขึ้นอยู่กับช่วงวัยด้วยเช่นกัน กรณีที่อายุ 20-30 ปี สถาบันการเงินจะพิจาณาระยะเวลากู้ 30 ปี (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร) ทำให้ยอดผ่อนชำระในแต่ละงวดนั้นจะค่อนข้างต่ำ เพื่อไม่ให้เป็นภาระสูงและสามารถผ่อนชำระไหว หากวัยค่อนข้างมาก เช่น 35-40 ปี นั้น สถาบันการเงินก็จะคำนวนระยะเวลาการผ่อนชำระลงมา เช่นอาจผ่อนชำระที่ 20 ปี ดังนั้น มูลค่าบ้านของการยื่นกู้จึงจะถูกนำมา หารกับ 20 ปี ซึ่งจะทำให้ยอดผ่อนชำระต่องวดสูงกว่าผู้มีอายุน้อยกว่านั่นเอง

การพิจารณาวงเงินสินเชื่อบ้าน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร บางโครงการสามารถกู้ได้ 95%-100% ในขณะที่บางโครงการ หรือบ้านนอกโครงการอาจขอสินเชื่อกู้บ้านได้ 70%-95% ดังนั้นก่อนการตัดสินใจหรือการยื่นกู้นั้น ควรพิจารณาและขอข้อมูลกับโครงการให้ดี สอบถามข้อมูลรายละเอียดให้ครบ ร่วมกับสอบถามเงื่อนไขต่างๆ กับทางสถาบันการเงินเพื่อให้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน ทั้งเงื่อนไข ดอกเบี้ย ฯลฯ

2. อาชีพ รายได้ ประวัติเครดิต

ส่งผลถึงความพร้อมของการเงิน โดยสถานบันการเงิน ธนาคารจะพิจารณาว่า คุณมีความสามารถในการผ่อนชำระได้หรือใหม่ ทั้งนี้ จะพิจารณาร่วมกับสภาพหนี้ที่แสดงให้เห็นถึงประยัติการผ่อนชำระและสภาพคล่องอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การมียอดหนี้ผ่อนชำระรถยนต์ ค่างวดบัตรเครดติด ในส่วนนี้ก็จะถูกนำมาประเมินพิจาณาร่วมกัน บางครั้งสถาบันการเงินอาจให้คุณปิดยอดหนี้บางยอดก่อนพิจารณาขั้นต่อไป

ทั้งนี้การมีประวัติผ่อนชำระ ไม่ว่าจะเป็นรถ บัตรเครดิต ไม่ได้หมายถึงข้อเสีย แต่เป็นส่วนที่สถาบันการเงินจะสามารถเห็นถึงวินัยในการผ่อนชำระได้ หากคุณมีประวัติการผ่อนชำระที่ดี ตรงงวด ไม่มียอดค้างชำระ จะหมายถึงประวัติการเงินที่ดี โอกาสในการอนุมัติก็สูงขึ้นเช่นกัน

3. เครดิตของผู้กู้ร่วม

ในการกู้ซื้อบ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ คุณสามารถยื่นกู้ร่วมกับครอบครัว (บิดา-มารดา-บุตร-คู่สมรส) หรือบุคคลอื่น เช่น เพื่อน หรือ แฟนได้เช่นกัน โดยสถาบันการเงินก็จะพิจารณาประวัติการเงินร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย กรณีที่เป็นคู่รักเพศเดียวกัน ปัจจุบันก็สามารถยื่นกู้ร่วมได้เช่นกัน

วินัยการเงินเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ การมีประวัตล่าช้า ค้างชำระ หรือหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่างวด ข้อมูลเหล่านี้จะแสดงในเครดิตบูโร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อต่างๆ