ป้องกันกลิ่นทำกับข้าว (Pungent) ไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้าน

พฤศจิกายน 17, 2024

-

adisorn kaewchansilp

/
/
ป้องกันกลิ่นทำกับข้าว (Pungent) ไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้าน
กลิ่นทำกับข้าวในบ้าน

การอยู่อาศัยร่วมกับเพื่อนบ้านได้อย่างมีความสุข สบายใจ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีสำคัญกับทุกคน นอกจากที่ควรเอาใจใส่คนในครอบครัวแล้ว อย่าลืมเอาใจใส่เพื่อนบ้าน

ป้องกันปัญหากลิ่นกับข้าวและเสียงยังไงไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้าน

ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นได้และยากจะหลีกเลี่ยง นั่นก็คือ ทาวน์โฮม บ้านแฝด ที่มีรั้วหรือใช้ผนังร่วมกัน บ่อยครั้งที่จะได้ยินเสียหรือกลิ่นอาหารลอยมาปะทะ ซึ่งหากถี่มากเกินไปหรือเป็นกลิ่นที่เราไม่คุ้นเคย ไม่ชอบ บางคนแพ้กลิ่นเหล่านั้น ก็อาจทำให้เกิดการปะทะ หรือไม่มีความสุขและยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจด้วยเช่นกัน

ห้องครัว กับปัญหากลิ่นกับข้าว

การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยเฉพาะกับเพื่อนบ้าน จึงเป็นการหาแนวทางการแก้ไขและป้องกัน ตามประมวลกฎหมาย (อ้างอิงพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535) มาตรา 25 กำหนดว่า

“กรณีที่ได้รับความเดือดร้อนจากเพื่อนบ้านหรือผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ เช่น ทางระบายน้ำ แหล่งน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วมที่ใส่มูลหรือเถ้า การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือวิธีใดหรือมีจำนวนเกินสมควร การกระทำใดเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เถ้า”

ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านที่จะต้องจัดการไม่ให้เกิดเสียงหรือกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้าน

วิธีป้องกันไม่ให้กลิ่นอาหารและเสียงทำกับข้าวกระทบเพื่อนบ้าน

1.ใช้ที่ระบายอากาศชนิดระบายควันผ่านถังน้ำ

น้ำในถังจะช่วยกรองกลิ่นอาหารต่างๆ ไม่ให้ลอยไปรบกวนเพื่อนบ้านหรือผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง วิธีนี้ควรเปลี่ยน ทำความสะอาดถังน้ำอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้น อาจทำให้หนู แมลงวัน มาไต่ตอมยิ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อเพื่อนบ้านได้เช่นกัน 

ระบายอากาศในห้องครัว

2. เดินท่อระบายควันไปยังบริเวณเหนือหลังคา

การเดินท่อให้กลิ่นขึ้นสู่หลังคา เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ต้องทำความสะอาดบ่อยครั้ง เหมาะกับบ้านที่ไม่อยู่ชิดกับหลังอื่นและที่สำคัญ ควรเดินท่อให้อยู่สูงกว่าบ้านหลังอื่น ต้องระวังไม่ให้ท่อปล่อยควันอยู่ระดับเดียวกันกับเพื่อนบ้าน ไม่เช่นนั้น กลิ่นก็จะรบกวนเพื่อนบ้านที่อยู่ชั้น 2 หรือ ชั้น 3 ได้เช่นกัน 

3. ก่อผนังเพิ่มเติม (double step)

ก่อผนังเพิ่มเติม (double step) ผนังกั้นเสียง โดยเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติในการซับเสียงได้ดี โดยอาจเลือกใช้ผนังเบาที่มีฉนวนกั้นเสียงก็ช่วยประหยัด กั้นเสียงได้ดีและยังมีคุณสมบัติในการทนไฟ ทนความร้อน ติดตั้งง่าย สะดวก

เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้อยู่อาศัยร่วมกับเพื่อนบ้านได้อย่างมีความสุข สบายใจ 

ดิ เอสเซนส์ ชัยพฤกษ์ - วงแหวน