บ้าน ที่อยู่อาศัยหรือปัจจุบันบางออฟฟิศก็สามารถนำสัตว์เลี้ยงไปเลี้ยงที่ทำงานได้ รวมทั้งศูนย์การค้า ร้านอาหาร สถานที่สาธารณะมากมายก็เปิดต้อนรับผู้เลี้ยงสัตว์ให้สามารถนำน้องๆ ไปเอนจอยในที่นั้นๆ ได้ จึงทำให้การเลี้ยงสัตว์ไม่ใช่เพียงความรัก ความเอ็นดูเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่หมายรวมถึงการเอาใจใส่ ฝึกนิสัยให้สามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านและผู้อื่นได้
ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยในการดูแลสัตว์เลี้ยง นั่นก็คือ การขับถ่าย กลิ่นและเสียง ที่ทำให้รบกวนเพื่อนบ้าน และผู้อื่นในที่สาธารณะได้ ในส่วนนี้เจ้าของ ผู้เลี้ยงต้องควบคุมดูแลเป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน
การเลี้ยงสัตว์ต้องมีความรับผิดชอบ ให้ความรัก ดูแลและสั่งสอน ไม่เช่นนั้น หากปล่อยปละจนรบกวนผู้อื่น ผู้เลี้ยงหรือเจ้าของเอง ก็มีความผิดและมีโอกาสรับโทษตามกฎหมายได้เช่นกัน
เจ้าของสัตว์ = ผู้ที่เลี้ยงดูสัตว์เลี้ยง หรือผู้รับเลี้ยง
การมีสัตว์ไว้ในครอบครองให้อาหาร
สถานที่เลี้ยงสัตว์ = พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นในหมู่บ้านจัดสรรหรือขอบเขตบริเวณบ้านในการเลี้ยงสัตว์ รวมถึงคอก กรง ที่เลี้ยงสัตว์ในลักษณะอื่นใดที่ใช้ในการควบคุมสัตว์เลี้ยง
การอยู่ร่วมกับอย่างมีความสุข ทั้งกับน้องๆ สัตว์เลี้ยงแสนรัก เพื่อนบ้านและผู้อื่นในบริเวณรอบข้าง
วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้าน
- แจ้งเพื่อนบ้านให้รับทราบว่าเรามีสัตว์เลี้ยง ซึ่งอาจมีเสียงหรือกลิ่นบ้าง หากเกิดผลกระทบใดๆ คุณพร้อมที่จะรับฟังและแก้ไข
- หากน้องหมาของคุณมีนิสัยเห่า พร่ำเพรื่อ เช่นนี้ คุณจำเป็นต้องฝึกฝนอย่างใกล้ชิด แต่หากไม่สามารถดูแลส่วนนี้ได้ ควรตกแต่งเลือกใช้วัสดุเก็บเสียง หรือ เปลี่ยนประตู หน้าต่างให้ทึบ เพื่อลดทอนไม่ให้เสียงเล็ดลอดออกไปรบกวนเพื่อนบ้าน
- ดูแลรักษาความสะอาด ล้างบ้าน เก็บอุจจาระรวบรวมและแยกทิ้งปิดปากถุงให้มิดชิด เพื่อไม่ให้กลิ่นลอยไปรบกวนผู้อื่น
- การพาน้องๆ ไปเดินเล่น เป็นการสร้างความผ่อนคลายให้สัตว์เลี้ยง ดังนั้น การพาน้องออกไปในที่สาธารณะ ผู้เลี้ยงก็ต้องรับผิดชอบ พกถุงเก็บของปฏิกูลน้องๆ และทิ้งให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงการปล่อยทิ้งไว้รบกวนผู้อื่น
- สายจูงเป็นสิ่งสำคัญ พาออกไปในที่สาธารณะก็ควรจะใส่สายจูงให้เรียบร้อย และยังเป็นการป้องกันอุบัติเหตุด้วยเช่นกัน
- ฉีดวัคซีนสม่ำเสมอ นอกจากวัคซีนจะช่วยดูแลให้น้องๆ ปลอดภัยจากโรคแล้ว วัคซีนพิษสุนัขบ้า ยังลดความเสี่ยงเชื้อโรคที่แพร่จากสัตว์ไปสู่คน
กรณีที่ปล่อยให้เสียงหรือกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้าน นับเป็นการสร้างความเดือดร้อน ถือว่ามีความผิด รวมทั้งการปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่นอกบริเวณบ้านและได้เกิดทำร้าย ก่อความวุ่นวายให้กับเพื่อนบ้าน ผู้เลี้ยงก็มีหน้าที่รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายอาญาด้วยเช่นกัน
จะเลี้ยงสัตว์ทั้งทีต้องรู้กฎหมาย เลี้ยงแล้วไม่รบกวนเพื่อนบ้าน
- สัตว์เลี้ยงก่ออันตรายให้แก่ผู้อื่น เช่น ไล่กัด วิ่งตัดหน้ารถ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีที่สัตว์เลี้ยงไม่ทำร้ายผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ผู้เลี้ยงมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีที่สัตว์เลี้ยงไปทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับบาดเจ็บถึงชีวิต ผู้เลี้ยงมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
- สัตว์เลี้ยงของคุณไปสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่น เช่น ขับถ่ายหน้าบ้าน หรือที่สาธารณะ ทำลายข้าวของ เช่นนี้ผู้เลี้ยงก็มีความผิดกฎหมายอาญา มาตรา 433 ผู้เลี้ยงต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย
- หากสัตว์เลี้ยงก่อความรำคาญ หรือ รบกวนเพื่อนบ้าน เช่น เห่าหอนเสียงดัง ไม่ดูแลความสะอาด ปล่อยให้กลิ่นรบกวนเพื่อนบ้าน ผู้เลี้ยงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
- ผู้เลี้ยงที่ไม่จัดการเป็นอยู่อย่างเหมาะสม เช่น ความสะอาด อาหาร รวมถึงการปล่อยปละละเลยไม่ดูแล การนำสัตว์เลี้ยงไปปล่อย มีความผิดตามมาตรา 22, 23 และ 24 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท
นอกจากการดูแลสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างดี กรณีที่เพื่อนบ้าน หรือผู้อื่น มาทำร้ายสัตว์เลี้ยงของเรา เช่นนี้ ก็มีความผิดเช่นเดียวกัน เช่น เด็กข้างบ้านเอาไม้มาตี หรือ เอาหินมาโยน หรือกระทำการยั่วยุให้สัตว์เลี้ยงของเราได้รับบาดเจ็บ เช่นนี้ ก็มีความผิดตามมาตรา 20 เหตุทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันควร
การดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้รบกวนเพื่อนบ้าน ไม่ยุ่งยากเลย หากคุณรักและเอาใจใส่เป็นอย่างดี ก็ทำให้การใช้ชีวิตร่วมกันเป็นไปได้อย่างสงบสุข ลดปัญหากระทบกระทั่งกับเพื่อนบ้านและผู้อื่นได้แล้ว